1 0
- พระไตรปิฎก
- บาลี
- อรรถกถา
๘. อนาคามิเถรวัตถุ
เรื่องพระอนาคามีเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของพระผู้บรรลุ
อนาคามิผล ดังนี้)
[๒๑๘] ภิกษุผู้เกิดฉันทะในธรรม A ที่ใคร ๆ บอกไม่ได้
มีใจได้สัมผัสแล้ว B และมีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลาย C
เราเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน D
เชิงอรรถ
A ธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ.๖/๑๔๔)
B มีใจได้สัมผัสแล้ว หมายถึงมีใจได้สัมผัสมรรคผลเบื้องต่ำ คือ โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
(ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๔)
C ด้วยอำนาจอนาคามิมรรค จึงมีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลาย (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๔)
D ผู้มีกระแสในเบื้องบน หมายถึงจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ
คือบังเกิดในชั้นอวิหาจนถึงชั้นอกนิฏฐา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๔)
สนทนาธรรม
1 0
- พระไตรปิฎก
- บาลี
- อรรถกถา
๘. อนาคามิเถรวัตถุ
เรื่องพระอนาคามีเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ของพระผู้บรรลุ
อนาคามิผล ดังนี้)
[๒๑๘] ภิกษุผู้เกิดฉันทะในธรรม A ที่ใคร ๆ บอกไม่ได้
มีใจได้สัมผัสแล้ว B และมีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลาย C
เราเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน D
เชิงอรรถ
A ธรรม หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ.๖/๑๔๔)
B มีใจได้สัมผัสแล้ว หมายถึงมีใจได้สัมผัสมรรคผลเบื้องต่ำ คือ โสดาปัตติมรรค
โสดาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล
(ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๔)
C ด้วยอำนาจอนาคามิมรรค จึงมีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลาย (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๔)
D ผู้มีกระแสในเบื้องบน หมายถึงจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ
คือบังเกิดในชั้นอวิหาจนถึงชั้นอกนิฏฐา (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๔๔)
สนทนาธรรม
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
[60] อนาคามี 5 (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก — Non-Returner) 1. อันตราปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว อายุยังไม่ถึงกึ่ง ก็ปรินิพพานโดยกิเลสปรินิพพาน — one who attains Parinibbana within the first half life-span) 2. อุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จวนจะถึงจึงปรินิพพาน คือ อายุพ้นกึ่งแล้ว จวนจะถึงสิ้นอายุจึงปรินิพพาน — one who attains Parinibbana after the first half life-span) 3. อสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยง่าย ไม่ต้องใช้ความเพียรนัก — one who attains Parinibbana without exertion) 4. สสังขารปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง คือ ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก — one who attains Parinibbana with exertion) 5. อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือ เกิดในสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้วก็ตาม จะเกิดเลื่อนต่อขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพแล้วจึงปรินิพพาน — one who goes upstream bound for the highest realm; up-streamer bound for the Not-Junior Gods)
|
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=60
บันทึก ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
ใช้ธรรมะผู้บริหารเจ้าอาวาสวัด
มาประยุกต์บริหารแต่ละเจ้าอาวาสวัดและพระที่ออกข่าวเป็นชื่อวัดต่างๆ คลิกเพื่อเข้าไปศึกษา
https://www.facebook.com/JeakCDThamma
มีผู้กล่าวว่าท่านเป็นพระโสดาบัน ที่วัดหนองป่าพง
:::::::: พระอนาคามี ::::::::
พระอนาคามี คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติของพระสกิทาคามี+มีความรู้ในอริยสัจ 4 มากขึ้น+ความสามารถละความคิดกำหนดยินดีในกามคุณ(กามราคะหรือสังโยชน์ข้อที่ 4)และละความคิดขัดเคืองใจ(ปฏิฆะหรือสังโยชน์ข้อที่ 5)ได้ หรือละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 5 ข้อ ได้
รายละเอียดของสังโยชน์ 2 ข้อ ที่พระอนาคามีต้องละเพิ่มขึ้น มีดังนี้คือ
1. ความคิดกำหนัดความยินดีในกามคุณ(กามราคะหรือสังโยชน์ข้อที่ 4) คือ การมีความคิดทะยานอยากในเสพกามคุณต่าง ๆ
2. ความคิดขัดเคืองใจ(ปฏิฆะหรือสังโยชน์ข้อที่ 5) คือ ความไม่พอใจที่เกิดจากการคิดด้วยกิเลสด้านความโกรธ
เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระอนาคามีต้องมีเพิ่มขึ้นมาจากเดิม คือจะต้องละความพอใจหรือไม่พอใจในสิ่งต่างๆให้หมดไปให้ได้ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นตัวอันตรายที่ทำให้เกิดกิเลสขึ้นมาได้
หน้าหลัก
ทำไมจึงเรียนพระพุทธ
เค้าสอนอะไรบ้าง
ภาษิตมีไว้ทำไม
ทางแห่งชาวพุทธ
สมาธิ
สู่จุดหมาย
สรุปแล้ว...ได้อะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น