วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

 

                   ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
 
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 178อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 198อ่านอรรถกถา 14 / 234อ่านอรรถกถา 14 / 853
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค
เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

               ๔. อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร               
               เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

               สมาจาร               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตญฺจ อญฺญมญฺญํ กายสมาจารํ ความว่า เราตถาคตกล่าวความประพฤติทางกายที่ควรเสพอย่างหนึ่ง และที่ไม่ควรเสพอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า เราตถาคตมิได้กล่าวว่า กายสมาจารที่ควรเสพนั่นแลไม่ควรเสพโดยปริยายไรๆ หรือกายสมาจารที่ไม่ควรเสพว่าควรจะเสพ.
               แม้ในวจีสมาจารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวางแม่บทไว้โดยบททั้ง ๗ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงจำแนกไว้โดยพิสดาร ก็ทรงยุติเทศนาไว้.
               เพราะเหตุไร?
               เพราะเพื่อจะให้โอกาสแก่พระสารีบุตรเถระ. ในมโนสมาจาร ท่านไม่ได้ถือเอามิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิว่า เป็นองค์ที่แยกตั้งไว้ต่างหากด้วยสามารถแห่งการกลับได้ทิฏฐิ.
               ในจิตตุปบาท ควรทราบอภิชฌาเป็นต้นว่า ไม่ถึงกรรมบถ๑- ก็หามิได้. (คือถึงกรรมบถ)
____________________________
๑- บางปกรณ์ว่า อภิชฌาไม่ถึงกรรมบถ

               ในวาระที่ว่าด้วยการได้สัญญา ตรัสบททั้งหลายเป็นต้นว่า อภิชฺฌา สหคตาย สญฺญาย (มีสัญญาอันไปร่วมกับอภิชฌา) ดังนี้ เพื่อทรงแสดงกามสัญญาเป็นต้น.

               พระอนาคามียังมีภวตัณหา               
               บทว่า สพฺยาปชฌํ แปลว่า มีทุกข์.
               บทว่า อปรินิฏฺฐิตภาวาย ได้แก่ เพราะภพทั้งหลายยังไม่หมดไป.
               ก็ในที่นี้ ชื่อว่าอัตภาพที่ถูกทุกข์เบียดเบียนมี ๔ ประการ. เพราะบุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ย่อมไม่อาจเพื่อจะหยุดภพโดยอัตภาพนั้นได้ จำเดิมแต่การปฏิสนธิของบุคคลนั้น อกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป ชื่อว่าย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เท่านั้นให้เกิด. พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็เหมือนกัน.
               ถามว่า ปุถุชนทั้งหลายเป็นต้น รวมพระโสดาบันและพระสกทาคามี ขอยกไว้ก่อน แต่พระอนาคามีย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เบียดเบียนให้เกิดขึ้นได้อย่างไร.
               ตอบว่า เพราะแม้พระอนาคามีบังเกิดในชั้นสุทธาวาส แลดูต้นกัลปพฤกษ์ในวิมานอุทยาน (สวนสวรรค์) เปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ. ความโลภในภพ ตัณหาในภพ ย่อมเป็นอันพระอนาคามียังละไม่ได้เลย เพราะพระอนาคามีนั้นยังละตัณหาไม่ได้ ชื่อว่าอกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมเสื่อมไป ย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์นั่นแลให้เกิดขึ้น พึงทราบว่า ยังเป็นผู้มีภพไม่สิ้นสุดนั่นแหละ.

               อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน               
               บทว่า อพฺยาปชฺณํ คือ ไม่มีทุกข์. แม้บุคคลนี้ก็พึงทราบเนื่องด้วยชน ๔ จำพวก. อธิบายว่า บุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ก็อาจทำภพให้สิ้นสุดลงด้วยอัตภาพนั้น ไม่ถือปฏิสนธิอีกต่อไป จำเดิมแต่บุคคลนั้นถือปฏิสนธิ อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเท่านั้นเจริญ เขาย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์นั่นแหละให้เกิดขึ้น เป็นผู้ชื่อว่ามีภพสิ้นสุดแล้วทีเดียว. พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีก็เหมือนกัน.
               ถามว่า พระโสดาบันเป็นต้นพักไว้ก่อน (ไม่ต้องพูดถึง) ปุถุชนย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และเขามีการเสื่อมจากอกุศลธรรมเป็นต้นได้อย่างไร?
               ตอบว่า แม้ปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้าย ก็ย่อมสามารถทำภพให้สิ้นสุด ลงด้วยอัตภาพนั้นได้ อัตภาพของปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้ายนั้น แม้จะฆ่าสัตว์ถึง ๙๙๙ ชีวิตเหมือนองคุลิมาล ก็ชื่อว่าไม่มีทุกข์ ชื่อว่าย่อมทำภพให้สิ้นสุดลง ชื่อว่าย่อมยังอกุศลนั่นแลให้เสื่อมไป ย่อมยังวิปัสสนานั่นแลให้ถือเอาห้องวิปัสสนาได้.

               ราคะเกิดแก่บางคน               
               พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้ :-
               เพราะเหตุที่ราคะเป็นต้นในรูปนั่นแหละ ย่อมเกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเพลิดเพลินชอบใจ เมื่อเพลิดเพลินชอบใจย่อมถึงความเสื่อมและความพินาศ. ย่อมไม่เกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ย่อมถึงความดับ เพราะฉะนั้น จึงไม่ตรัสว่า ตญฺจ อญฺญมญฺญํ
               ในบททั้งปวงมีนัยนี้นั่นแล.

               ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ               
               ในบทว่า เอวํ วิตฺถาเรน อตฺถํ อาชาเนยฺยุํ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
               ถามว่า คนเหล่าไหน ย่อมรู้เนื้อความภาษิตนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
               ตอบว่า เบื้องต้น ชนเหล่าใดร่ำเรียนบาลีและอรรถกถาของพระสูตรนี้ แต่ไม่ทำตามที่ร่ำเรียนมานั้น ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้. ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้กระทำตามที่เล่าเรียนมานั้น ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้.
               ถามว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น การรู้เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้นจะมีประโยชน์เกื้อกูลและความสุขตลอดกาลนาน สำหรับเหล่าสัตว์ผู้มีปฏิสนธิจงยกไว้ก่อน แต่สำหรับเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีปฏิสนธิ (อีกต่อไป) จะมีประโยชน์สุขได้อย่างไร?
               ตอบว่า เหล่าชนผู้ไม่ปฏิสนธิ ย่อมปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเชื้อ เมื่อกาลเวลาล่วงไป แม้ตั้งแสนกัป ชื่อว่าความทุกข์ย่อมไม่มีแก่คนเหล่านั้นอีกต่อไป. คนเหล่านั้นเท่านั้นย่อมจะมีประโยชน์สุขชั่วกาลนานโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
               คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

               จบอรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔               
               -----------------------------------------------------               

.. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร จบ.
อ่านอรรถกถา 14 / 1อ่านอรรถกถา 14 / 178อรรถกถา เล่มที่ 14 ข้อ 198อ่านอรรถกถา 14 / 234อ่านอรรถกถา 14 / 853
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=2899&Z=3431
อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=1751
The Pali Atthakatha in Roman
https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=1751
- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
ดาวน์โหลด โปรแกรมพระไตรปิฎก
บันทึก  ๑๙  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๔๙
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

สีพื้นหลัง : 




 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น