วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

 

                   ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ สูตรที่ ๒
[๑๐๒๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์ สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง พยากรณ์ท้าวเธอว่า “เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ สัมโพธิในวันข้างหน้า” ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุม พร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้า สรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์” ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๓๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลาย พระองค์มาประชุมพร้อมกัน ต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ‘ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะ เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็น โสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะมิได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร บุคคลเมื่อจะกล่าว ให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน’ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเจ้า สรณานิศากยะว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะตลอด กาลนาน’ พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้ มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาย่อม ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้ ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๒. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๓๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เพราะ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึงเป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้ สสังขารปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๓. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้ มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ บรรเทาราคะ โทสะ และโมหะให้เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้ง เดียวก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๔. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ เป็นผู้ มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึง เป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ สัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป แม้บุคคล นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๕. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๓๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๕. ทุติยสรณานิสักกสูตร

พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศ ย่อมควรแก่ การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต ๖. เป็นผู้มั่นคง เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึง พร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธาพอประมาณ มีความรักพอ ประมาณในพระตถาคต แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาไม่ดี พื้นดินเสีย ไม่ได้ถอนตอ พืชก็หัก เน่าเสีย ถูกลมและแดดทำลาย ไม่มีแก่นสาร เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนก็ตกลงมาไม่ดี พืชเหล่า นั้นจะเจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่” “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวไม่ดี ประกาศไม่ดี ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่ใช่พระสัมมาสัม พุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาไม่ดี และสาวกก็เป็น ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชไม่ดี มหาบพิตร เปรียบเหมือนนาดี พื้นดินดี ถอนตอแล้ว พืชก็ไม่หัก ไม่เน่าเสีย ไม่ถูกลมและแดดทำลาย มีแก่นสาร เก็บไว้ดี และฝนก็ตกลงมาดี พืชเหล่านั้นจะ เจริญงอกงามเติบโตได้หรือไม่” “ได้ พระพุทธเจ้าข้า” “มหาบพิตร อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ธรรมในศาสนานี้ที่กล่าวดี ประกาศดี นำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๕๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]

๓. สรณานิวรรค ๖. ปฐมอานาถปิณฑิกสูตร

ประกาศ อาตมภาพกล่าวถึงเรื่องนี้ในเพราะนาดี และสาวกก็เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมในธรรมนั้นอยู่ อาตมภาพกล่าว ถึงเรื่องนี้ในเพราะพืชดี ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะเลย เพราะเจ้า สรณานิศากยะได้ทรงบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ในเวลาจะสวรรคต”
ทุติยสรณานิสักกสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๕๓๒-๕๓๖. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=343              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=8997&Z=9063                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1537              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1537&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=8054              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1537&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=8054                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn55-024.html https://suttacentral.net/sn55.25/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

สีพื้นหลัง :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น