บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๔. สมันนาคตกถา (๓๖) ว่าด้วยผู้บริบูรณ์ [๓๙๓] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์๑- ด้วยผล ๔ ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๔ ฯลฯ เวทนา ๔ ฯลฯ สัญญา ๔ ฯลฯ เจตนา ๔ ฯลฯ จิต ๔ ฯลฯ ศรัทธา ๔ ฯลฯ วิริยะ ๔ ฯลฯ สติ ๔ ฯลฯ สมาธิ ๔ ฯลฯ ปัญญา ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ บริบูรณ์ โดยทั่วไปหมายถึงความบริบูรณ์ ๒ อย่างคือ (๑) ความบริบูรณ์ที่เกิดแก่จิตในขณะหนึ่งๆ @(สมงฺคีภาวสมนฺนาคม) เช่น ในขณะที่มัคคจิตหรือผลจิตเกิดขึ้น ก็ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมัคคจิตหรือผลจิต @(๒) ความบริบูรณ์ที่เกิดจากการได้รับภูมิธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดารูปฌานหรืออรูปฌาน (ปฏิลาภ- @สมนฺนาคม) ความบริบูรณ์นี้จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ภูมิธรรมนั้นๆ ยังไม่เสื่อม (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓) @๒ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑) @๓ เพราะมีความเห็นว่า นอกจากความบริบูรณ์ ๒ อย่างดังกล่าวแล้ว ยังมีความบริบูรณ์อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า @ปัตติธรรม หมายถึงคุณวิเศษใดๆ ที่บรรลุแล้ว คุณวิเศษนั้นๆ จะคงมีอยู่ตลอดไป แม้จะบรรลุคุณธรรม @ที่สูงขึ้นไปแล้วก็ตาม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่ไม่ยอมรับปัตติธรรมเช่นนั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๙๓/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๓ ฯลฯ ปัญญา ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผัสสะ ๒ ฯลฯ ปัญญา ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เป็นพระสกทาคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขารปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๑}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอนาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีเป็นพระสกทาคามีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีเป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๙๔] สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์กับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๒}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระอรหันต์กับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระอนาคามี” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์กับพระอนาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระสกทาคามี” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีกับพระสกทาคามีเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๓}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. ผู้บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล ท่านยอมรับว่า “เป็นพระโสดาบัน” ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีกับพระโสดาบันเป็นองค์เดียวกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๙๕] สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมีสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๔}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล” สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล” สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยอนาคามิผล นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ล่วงเลยอนาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียดได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๕}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับ ว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผลใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล” สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสกทาคามิผล นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีล่วงเลยสกทาคามิมรรคไปแล้ว ล่วงเลยกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยกามราคะและพยาบาทนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผลใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๖}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้วมิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากพระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล” สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติผลไปแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยโสดาปัตติผล นั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีล่วงเลยโสดาปัตติมรรคไปแล้ว ล่วงเลยสักกายทิฏฐิ ฯลฯ ล่วงเลยโมหะที่เป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายได้แล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยสภาวธรรมมี สักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๓๙๖] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอรหันต์บริบูรณ์ด้วยผล ๔” ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระอนาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๓” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๗}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๔. สมันนาคตกถา (๓๖)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒” ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้นมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากพระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “พระสกทาคามีบริบูรณ์ด้วยผล ๒” สก. พระอรหันต์ได้ผล ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๔ นั้น ดังนั้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๔ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ได้มรรค ๔ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๔ นั้น ดังนั้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๔ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระอนาคามีได้ผล ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๓ นั้น ดังนั้น จึงชื่อ ว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๓ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอนาคามีได้มรรค ๓ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๓ นั้น ดังนั้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๓ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสกทาคามีได้ผล ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากผล ๒ นั้น ดังนั้น จึง ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยผล ๒ ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสกทาคามีได้มรรค ๒ แล้วยังไม่เสื่อมจากมรรค ๒ นั้น ดังนั้น จึงชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยมรรค ๒ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯสมันนาคตกถา จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๑๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๔๑๐-๔๑๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=56 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8974&Z=9167 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=903 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=903&items=30 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4557 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=903&items=30 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4557 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.4/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น