วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

 

                   ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
โอธิโสกถา
[๒๗๙] สกวาที บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียว กันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ ... ซึ่งโสดาปัตติผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกาย อยู่ซึ่งโสดาปัตติผล ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ... ผู้ โกลังโกละ ... ผู้เอกพีชี ... ประกอบด้วยความเสื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วย อริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น สมุทัย ป. ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียว กันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นพระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วย อริยกันตศีล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น นิโรธ ป. ละวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระโสดาบัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วย อริยกันตศีล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ป. ละสีลัพพตปรามาส และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ส. บุคคลเป็นโสดาบันแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นโสดาบัน ส่วน หนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้อง ด้วยกายอยู่ ซึ่งโสดาปัตติผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่ง โสดาปัตติผล ส่วนหนึ่งเป็นพระโสดาบันผู้สัตตขัตตุปรมะ ... ผู้โกลัง โกละ ... ผู้เอกพีชีประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ เจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยอริยกันตศีล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ประกอบด้วยอริยกันตศีลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๐] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียว กันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งสกทาคามิผล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น สมุทัย ป. ละกามราคะอย่างหยาบ พยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียว กันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกาย อยู่ซึ่งสกทาคามิผลหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็น นิโรธ ป. ละพยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งสกทาคามิผล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ป. ละพยาบาทอย่างหยาบ และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ส. บุคคลเป็นพระสกทาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระสกทาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งสกทาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกาย ซึ่งสกทาคามิผล หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๑] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และบรรดากิเลสพวก เดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกาย อยู่ซึ่งอนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้ อุปหัจจปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโส- โตอกนิฏฐคามี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ป. ละกามราคะอย่างละเอียด พยาบาทอย่างละเอียด และกิเลสพวกเดียว กันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี อีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ป. ละพยาบาทอย่างละเอียด และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ฯลฯ ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี แต่อีก ส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ป. ละบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ส. บุคคลเป็นพระอนาคามีแต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามี ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้อง ด้วยกายอยู่ซึ่งอนาคามิผล อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่ง อนาคามิผล ส่วนหนึ่งเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ... ผู้อุปหัจจ- ปรินิพพายี ... ผู้อสังขารปรินิพพายี ... ผู้สสังขารปรินิพพายี ... ผู้อุทธังโส โตอกนิฏฐคามี แต่อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐ- คามี หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น [๒๘๒] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นทุกข์ ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวก เดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ส่วนหนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้อง ด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่ง อรหัตผล ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะโทสะโมหะแล้ว ทำกิจที่ควร ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ใน ภพสิ้นไปรอบแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มี คูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอยขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็น อริยะ ลดธง (คือมานะ) แล้ว มีภาระอันวางแล้ว หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะอย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธ ให้แจ้งแล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ ธรรมที่ควรกำหนดรู้แล้วละธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญ แล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้ง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นสมุทัย ป. ละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวก เดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้ง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นนิโรธ ป. ละมานะ อุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวกเดียวกันส่วนหนึ่งได้ ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์แต่ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำ ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ละอะไรได้ด้วยการเห็นมรรค ป. ละอุทธัจจะ อวิชชา และบรรดากิเลสพวกเดียวกันได้ ส. บุคคลเป็นพระอรหันต์ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งไม่เป็นพระอรหันต์ ส่วน หนึ่งบรรลุ ... ได้เฉพาะ ... ถึงทับ ... ทำให้แจ้ง ... เข้าถึงอยู่ ... ถูกต้องด้วยกาย อยู่ซึ่งอรหัตผล แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล ส่วน หนึ่งเป็นผู้ปราศจากราคะโทสะโมหะแล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีเครื่องผูกไว้ในภพสิ้นไปรอบ แล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ มีลิ่มอันยกขึ้นแล้ว มีคูอันกลบแล้ว มีเสาระเนียดอันถอนขึ้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีลิ่มสลัก เป็นอริยะ ลดธง (คือมานะ) แล้ว วางภาระแล้ว หมดเครื่องผูกพันแล้ว มีชัยชนะ อย่างดีวิเศษแล้ว ท่านกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ละสมุทัยแล้ว ทำนิโรธให้แจ้ง แล้ว ยังมรรคให้เกิดแล้ว รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว กำหนดรู้ธรรม ที่ควรกำหนดรู้แล้ว ละธรรมที่ควรละแล้ว บำเพ็ญธรรมที่ควรบำเพ็ญแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล้ว ส่วนหนึ่ง ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ ควรทำให้แจ้งแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้ แจ้งหรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๘๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่าบุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ผู้มีปัญญาพึงกำจัดมลทินของตนทีละ น้อยๆ ทุกคณะโดยลำดับ เหมือนช่างทองกำจัดมลทินทองฉะนั้น ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น บุคคลก็ละกิเลสได้เป็นส่วนๆ น่ะสิ [๒๘๔] ส. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า พร้อมกับการถึงพร้อมด้วยทัสสนะของท่าน (พระโสดาบัน) ท่านละธรรม ๓ อย่างได้ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส ที่ยังมีอยู่แม้หน่อยหนึ่งท่านก็พ้นจากอบายภูมิ ๔ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานหก ดังนี้ ๒- เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ? @๑. ขุ. ธ. ข้อ ๒๘ หน้า ๔๗ ๒. ขุ. ขุ. ข้อ ๗ หน้า ๗ ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าว บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ น่ะสิ [๒๘๕] ส. บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ธรรมจักษุ ปราศจากผงฝ้าเกิดขึ้นแล้ว แก่อริยสาวกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอัน เกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีอันดับไปเป็นธรรมดา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พร้อมกับการเกิดขึ้นแห่งทัสสนะนั้น อริยสาวกละ สัญโญชน์ ๓ ประการได้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต- ปรามาส ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริงมิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้นก็ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลละกิเลสได้เป็นส่วนๆ น่ะสิ
โอธิโสกถา จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๓๓๙๒-๓๕๗๒ หน้าที่ ๑๔๑-๑๔๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=3392&Z=3572&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=37&A=3392&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=37&siri=23              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=279              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=37&A=2440              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3771              The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=37&A=2440              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3771              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.4/en/aung-rhysdavids

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น